รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

โดย: เชษฐชาย วรรณประพันธ์ [IP: 183.88.0.xxx]
เมื่อ: 2022-02-23 14:13:36
ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการ

จัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนลำพระเพลิง

พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

ผู้วิจัย เชษฐชาย วรรณประพันธ์

ปีที่วิจัย 2564

บทคัดย่อ



การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคมภายใต้การดำเนินการ 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษารูปแบบและแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) รวมถึงการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน

ลำพระเพลิงพิทยาคม ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัด

การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และระยะที่ 4 เป็นการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารสถานศึกษา

ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคม โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้เชิงรุก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ ด้านการใช้และพัฒนาสื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก ด้าน

การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก และด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ส่วนแนวทาง

การบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) พบว่า

1) ควรมีการส่งเสริมการมีอิสระทางความคิดและการปฏิบัติของผู้เรียนโดยเสริมสร้างกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ 2) ควรส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 3) ควรสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนกล้าแสดงความรู้ความสามารถตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน 4) การบริหารจัดการให้ครอบคลุมการสร้างความตระหนักในการพัฒนาวิชาชีพและทักษะต่าง ๆ ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 5) สร้างวัฒนธรรมองค์กร โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคน กระตุ้นการเรียนรู้ร่วมกันและควรมีเครือข่ายสถานศึกษาในการร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา 6) ควรมีการติดตาม นิเทศและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อสะท้อนผลการดำเนินการตามเป้าหมาย

2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาที่พัฒนาขึ้นด้วยหลักการบริหาร STEM Model ที่ประกอบด้วย

4 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy: S) 2) มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม (Team Work : T)

3) เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Exchange : E) และ 4) การบริหารจัดการยุคใหม่ (Modern Management : M) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน 1) การสร้างความตระหนัก (Awareness) 2) การพัฒนาสมรรถนะครู (Teacher Development) 3) การจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ (Learning Development) 4) การนิเทศ (Supervision) 5) การประเมินผล (Assessment : A )

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา พบว่า

3.1 สมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาด้วยรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังการพัฒนาด้วยรูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้หลังเรียน อยู่ในระดับมากขึ้น

3.3 ความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาหลังการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ

อยู่ในระดับมากที่สุด

4. ประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

5. ประสิทธิผลในการจัดการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า ด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และด้านการพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,733