การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

โดย: ชมพูนุท โนนทนวงษ์ [IP: 184.22.126.xxx]
เมื่อ: 2022-02-08 13:32:01
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

4) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) จำนวน 1 ห้องเรียน ได้แก่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 มีนักเรียนจำนวน 35 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่

1) แบบสอบถามสภาพการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ

2) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และครูผู้สอนประจำสายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

4) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

5) เครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

6) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ (1)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (2) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนรู้

7) แบบประเมินความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบตรวจสอบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) t–test (Dependent Samples)



ผลการวิจัยพบว่า

1.ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับนโยบายการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า นโยบายการศึกษาและแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดนโยบาย เพื่อการพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา เป็นคนดีมีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งหรือรอบด้าน มีความสามารถในการปรับตัวและมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รวมถึงการสังเกตและสอบถาม นักเรียนพบว่า นักเรียนขาดสิ่งเร้าหรือแรงจูงใจในการเรียนรู้ ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน มีความต้องการในการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนและต้องการการยอมรับในการทำงานกลุ่ม รวมไปถึงต้องการการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนปัจจุบันเน้นการสอนด้วยการบรรยาย เน้นเนื้อหามากกว่าการฝึก มีผลทำให้นักเรียนเรียนขาดโอกาสในการฝึกทักษะในด้านต่างๆ ดังนั้นการจัดกิจกรรมควรเน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติร่วมกับเพื่อนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น สอดคล้องกับการสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และครูผู้สอนประจำสายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเดิมเน้นการบรรยายเป็นส่วนใหญ่นักเรียนจะรู้สึกไม่มีส่วนร่วมในการเรียน มีผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้นักเรียนมีส่วนร่วมโดยใช้กิจกรรมกลุ่มและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบจึงมีความสำคัญสำหรับนักเรียนในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน



2. รูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีชื่อว่า PCTCS Model มี 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นออกแบบและวางแผน (Plan : P) ขั้นที่ 2 เชื่อมโยงความรู้ (Connecting of knowledge : C ) ขั้นที่ 3 ปฏิบัติการคิด (Taking action : T) ขั้นที่ 4 อภิปรายข้อมูล (Critiquing : C) และขั้นที่ 5 สรุปและประเมินผล (Summarizing and Assessing: S โดยที่ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความคิดเห็น ของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.70- 5.00 แสดงว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนักเรียนในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3



3.ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนที่ได้รับจากการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ความน่าจะเป็นอยู่ในระดับมาก



4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมมีความเหมาสมอยู่ในระดับมาก




ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,141,721