แผนการจัดการเรียนรู้ unplugged coding นางสุภาวดี วรรัตน์
โดย:
นางสุภาวดี วรรัตน์
[IP: 49.230.187.xxx]
เมื่อ: 2024-08-19 21:10:42
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ออกแบบอัลกอริทีมที่ใช้แนวคิดเชิงคำนวณ เวลา 8 ชั่วโมง
ในการแก้ปัญหา หรือการทำงานที่พบในชีวิตจริง
เรื่อง อัลกอริทึม เถ้าแก่น้อย เวลา 2 ชั่วโมง
รายวิชา วิทยาการคำนวณ รายวิชาเพิ่มเติม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครูผู้สอน นางสุภาวดี วรรัตน์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 วันที่ 18 มิถุนายน 2567
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
สาระที่ 4 เทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม
ผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ นักเรียนสามารถออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาหรือการทำงานที่ พบในชีวิตจริงได้
ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่ ม 3/1 ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหา หรือการ ทำงานที่พบในชีวิตจริง
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 อธิบายการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการคิดเชิงคำนวณ ซึ่งประกอบไปด้วยการแบ่งปัญหาใหญ่เป็น ปัญหาย่อย การพิจารณารูปแบบ การคิดเชิงนามธรรมและการออกแบบอัลกอริทึม (K)
2.2 ออกแบบอัลกอริทึมเพื่อการแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณ (P)
2.3 เห็นคุณค่าของการเรียนวิชาเทคโนโลยี และการตระหนักในคุณค่าของความรู้ทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (A)
3. สาระสำคัญ
3.1 การแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณ
3.2 ตัวอย่างปัญหา เช่น การเข้าแถวตามลำดับความสูงให้เร็วที่สุด จัดเรียงเสื้อผ้าให้หาได้ง่ายที่สุด และขั้นตอนการทำอาหาร
4. สาระการเรียนรู้
แนวคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) เป็นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ได้แนวทาง การหาคำตอบอย่างเป็นขั้นตอนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยบุคคลหรือคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งเรียกว่า อัลกอริทึม ทักษะการใช้แนวคิดเชิงคำนวณจึงสำคัญต่อการแก้ปัญหา ช่วยให้สามารถสื่อสารแนวคิด กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดเชิงคำนวณมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (decomposition) การพิจารณารูปแบบ (pattern recognition) การคิดเชิงนามธรรม (abstraction) และการออกแบบอัลกอริทึม (algorithm)
5. รูปแบบการสอน/วิธีการสอน
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐาน (Challenge Based Learning : CBL)
2. เทคนิคตามแนวคิดเชิงคำนวณ
6. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการสื่อสาร
ความสามารถในการคิด
ความสามารถในการแก้ปัญหา
• ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
7. ทักษะ 4 Cs
ทักษะการคิดวิจารณญาณ (Critical Thinking)
ทักษะการทำงานร่วมกัน (Collaboration Skill)
ทักษะการสื่อสาร (Communication Skill)
ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
8. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
• รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ • ซื่อสัตย์ สุจริต
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้
• อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน
• รักความเป็นไทย • มีจิตสาธารณะ
9. การจัดกระบวนการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1 ขั้นนำ
ขั้นที่ 1 ความคิดจุดประกาย (Big Idea)
1. ครูให้นักเรียนดูภาพปริศนาธุงใยแมงมุม โดยเปิดให้ดูทีละส่วนแล้วให้ตอบว่าเป็นภาพอะไร (ภาพเด็กเข้าแถว)
2. เมื่อนักเรียนตอบถูกให้นักเรียนดูภาพเด็กเข้าแถว
ขั้นสอน
ขั้นที่ 2 คำถามที่จำเป็น (Essential Question)
3. เมื่อนักเรียนดูภาพเด็กเข้าแถวแล้วถามโดยใช้คำถามดังนี้
- นักเรียนรู้หลักการเข้าแถวหรือไม่
- เรามีวิธีการเข้าแถวอย่างไรให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย
ขั้นที่ 3 ความท้าทาย (The Challenge)
4. ครูสุ่มนักเรียนโดยใช้เว็บไซด์ https://random.thaiware.com/ สุ่มนักเรียน 5 คน
5. ให้นักเรียนออกมา เข้าแถวตามเลขที่ที่สุ่มได้ จำนวน 6 คน
6. นักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนช่วยกันแก้ปัญหาว่าจะเข้าแถวตามลำดับเรียงจากต่ำไปหาสูงอย่างไร
7. นักเรียนช่วยกันเสนอแล้วเขียนเป็นรหัสลำลอง การเข้าแถวเรียงลำดับจากต่ำไปหาสูง
\
8. นักเรียนออกมานำเสนอรหัสลำลองของตนเอง
9. นักเรียนช่วยกันเลือกว่ารหัสลำลองของใครมีขั้นตอนน้อยที่สุด และช่วยกันสรุปว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาตามหลักอัลกอริทึมที่ดีที่สุด
10. นักเรียนนำรหัสลำลองของตนเองมาเขียนเป็นผังงาน
ตัวอย่างรหัสลำลอง ตัวอย่างผังงาน
เริ่มต้น
เด็กคนที่ 1 มายืนในตำแหน่งสุดท้าย
เด็กคนที่ 5 ไปยืนในลำดับที่ 3
จบการทำงาน
เปลี่ยนตำแหน่ง
เดินตรงไป
หัน 90 องศา
ทำซ้ำสี่รอบ
จบการทำงาน
ชั่วโมงที่ 2 ขั้นที่ 4 การแก้ปัญหา (Solution) และลงมือปฏิบัติ (Taking Act)
11. ครูให้นักเรียนช่วยกันเสนอผลิตภัณฑ์ หรืออาหารที่อยู่ในท้องถิ่นของเรา
12. ครูให้นักเรียนช่วยกันคิดว่าสมมติถ้านักเรียนอยากขายของหรือเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ นักเรียนอยากจะทำอะไร
13. นักเรียนเขียนรหัสลำลอง ขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์ที่ตนเองเลือกจะทำ โดยสืบค้นวิธีการทำ หรือขั้นตอนการทำในอินเทอร์เน็ต ในใบงานที่ครูแจกให้
14. นักเรียนบางคนอาจจะไปหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เช่น สอบถามแม่ค้าในชุมชน สอบถามจากผู้ปกครอง
ขั้นที่ 5 การประเมินผล (Assessment)
15. นักเรียนช่วยกันตรวจสอบผลงานของตนเองและเองเพื่อนว่าเป็นไปตามที่วางแผนไว้หรือไม่ หรือมีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง
ขั้นสรุป
16. ครูผู้สอนสรุปความรู้ที่ได้รับในการจัดกิจกรรมนี้ ได้นำแนวคิดเชิงคำนวณมาช่วยในการแก้ปัญหาได้อย่างไร ซึ่งจากกิจกรรมนี้ทำให้นักเรียนมีการคิดเป็นขั้นตอนหรือ อัลกอริทึมโดยมีรูปแบบลำดับการทำงานที่นักเรียนช่วยกันระดมความคิดแก้ปัญหาได้ โดยขั้นนี้ คือการวิเคราะห์รูปแบบ/เทคนิค/กระบวนการ การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะกับผู้เรียน เพื่อนำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมครั้ง ต่อไป
17. นักเรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรม สอบถามและสัมภาษณ์ความรู้สึกของนักเรียน ความประทับใจ และปัญหาต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงในการจัดการ เรียนการสอนต่อไป
10. สื่อแหล่งการเรียนรู้
1. ภาพปริศนา
2. www.random.thaiware.com/
3. www.google.co.th
4. รหัสลำลอง
5. ผังงาน
6. ใบงาน
7. ร้านค้าสินค้าพื้นบ้านในชุมชนหนองหมาใน (ขายผลิตภัณฑ์จากปลาและสัตว์น้ำในเขื่อนลำปาว)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ออกแบบอัลกอริทีมที่ใช้แนวคิดเชิงคำนวณ เวลา 8 ชั่วโมง
ในการแก้ปัญหา หรือการทำงานที่พบในชีวิตจริง
เรื่อง อัลกอริทึม เถ้าแก่น้อย เวลา 2 ชั่วโมง
รายวิชา วิทยาการคำนวณ รายวิชาเพิ่มเติม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครูผู้สอน นางสุภาวดี วรรัตน์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 วันที่ 18 มิถุนายน 2567
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
สาระที่ 4 เทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม
ผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ นักเรียนสามารถออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาหรือการทำงานที่ พบในชีวิตจริงได้
ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่ ม 3/1 ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหา หรือการ ทำงานที่พบในชีวิตจริง
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 อธิบายการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการคิดเชิงคำนวณ ซึ่งประกอบไปด้วยการแบ่งปัญหาใหญ่เป็น ปัญหาย่อย การพิจารณารูปแบบ การคิดเชิงนามธรรมและการออกแบบอัลกอริทึม (K)
2.2 ออกแบบอัลกอริทึมเพื่อการแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณ (P)
2.3 เห็นคุณค่าของการเรียนวิชาเทคโนโลยี และการตระหนักในคุณค่าของความรู้ทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (A)
3. สาระสำคัญ
3.1 การแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณ
3.2 ตัวอย่างปัญหา เช่น การเข้าแถวตามลำดับความสูงให้เร็วที่สุด จัดเรียงเสื้อผ้าให้หาได้ง่ายที่สุด และขั้นตอนการทำอาหาร
4. สาระการเรียนรู้
แนวคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) เป็นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ได้แนวทาง การหาคำตอบอย่างเป็นขั้นตอนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยบุคคลหรือคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งเรียกว่า อัลกอริทึม ทักษะการใช้แนวคิดเชิงคำนวณจึงสำคัญต่อการแก้ปัญหา ช่วยให้สามารถสื่อสารแนวคิด กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดเชิงคำนวณมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (decomposition) การพิจารณารูปแบบ (pattern recognition) การคิดเชิงนามธรรม (abstraction) และการออกแบบอัลกอริทึม (algorithm)
5. รูปแบบการสอน/วิธีการสอน
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐาน (Challenge Based Learning : CBL)
2. เทคนิคตามแนวคิดเชิงคำนวณ
6. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการสื่อสาร
ความสามารถในการคิด
ความสามารถในการแก้ปัญหา
• ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
7. ทักษะ 4 Cs
ทักษะการคิดวิจารณญาณ (Critical Thinking)
ทักษะการทำงานร่วมกัน (Collaboration Skill)
ทักษะการสื่อสาร (Communication Skill)
ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
8. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
• รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ • ซื่อสัตย์ สุจริต
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้
• อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน
• รักความเป็นไทย • มีจิตสาธารณะ
9. การจัดกระบวนการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1 ขั้นนำ
ขั้นที่ 1 ความคิดจุดประกาย (Big Idea)
1. ครูให้นักเรียนดูภาพปริศนาธุงใยแมงมุม โดยเปิดให้ดูทีละส่วนแล้วให้ตอบว่าเป็นภาพอะไร (ภาพเด็กเข้าแถว)
2. เมื่อนักเรียนตอบถูกให้นักเรียนดูภาพเด็กเข้าแถว
ขั้นสอน
ขั้นที่ 2 คำถามที่จำเป็น (Essential Question)
3. เมื่อนักเรียนดูภาพเด็กเข้าแถวแล้วถามโดยใช้คำถามดังนี้
- นักเรียนรู้หลักการเข้าแถวหรือไม่
- เรามีวิธีการเข้าแถวอย่างไรให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย
ขั้นที่ 3 ความท้าทาย (The Challenge)
4. ครูสุ่มนักเรียนโดยใช้เว็บไซด์ https://random.thaiware.com/ สุ่มนักเรียน 5 คน
5. ให้นักเรียนออกมา เข้าแถวตามเลขที่ที่สุ่มได้ จำนวน 6 คน
6. นักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนช่วยกันแก้ปัญหาว่าจะเข้าแถวตามลำดับเรียงจากต่ำไปหาสูงอย่างไร
7. นักเรียนช่วยกันเสนอแล้วเขียนเป็นรหัสลำลอง การเข้าแถวเรียงลำดับจากต่ำไปหาสูง
\
8. นักเรียนออกมานำเสนอรหัสลำลองของตนเอง
9. นักเรียนช่วยกันเลือกว่ารหัสลำลองของใครมีขั้นตอนน้อยที่สุด และช่วยกันสรุปว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาตามหลักอัลกอริทึมที่ดีที่สุด
10. นักเรียนนำรหัสลำลองของตนเองมาเขียนเป็นผังงาน
ตัวอย่างรหัสลำลอง ตัวอย่างผังงาน
เริ่มต้น
เด็กคนที่ 1 มายืนในตำแหน่งสุดท้าย
เด็กคนที่ 5 ไปยืนในลำดับที่ 3
จบการทำงาน
เปลี่ยนตำแหน่ง
เดินตรงไป
หัน 90 องศา
ทำซ้ำสี่รอบ
จบการทำงาน
ชั่วโมงที่ 2 ขั้นที่ 4 การแก้ปัญหา (Solution) และลงมือปฏิบัติ (Taking Act)
11. ครูให้นักเรียนช่วยกันเสนอผลิตภัณฑ์ หรืออาหารที่อยู่ในท้องถิ่นของเรา
12. ครูให้นักเรียนช่วยกันคิดว่าสมมติถ้านักเรียนอยากขายของหรือเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ นักเรียนอยากจะทำอะไร
13. นักเรียนเขียนรหัสลำลอง ขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์ที่ตนเองเลือกจะทำ โดยสืบค้นวิธีการทำ หรือขั้นตอนการทำในอินเทอร์เน็ต ในใบงานที่ครูแจกให้
14. นักเรียนบางคนอาจจะไปหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เช่น สอบถามแม่ค้าในชุมชน สอบถามจากผู้ปกครอง
ขั้นที่ 5 การประเมินผล (Assessment)
15. นักเรียนช่วยกันตรวจสอบผลงานของตนเองและเองเพื่อนว่าเป็นไปตามที่วางแผนไว้หรือไม่ หรือมีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง
ขั้นสรุป
16. ครูผู้สอนสรุปความรู้ที่ได้รับในการจัดกิจกรรมนี้ ได้นำแนวคิดเชิงคำนวณมาช่วยในการแก้ปัญหาได้อย่างไร ซึ่งจากกิจกรรมนี้ทำให้นักเรียนมีการคิดเป็นขั้นตอนหรือ อัลกอริทึมโดยมีรูปแบบลำดับการทำงานที่นักเรียนช่วยกันระดมความคิดแก้ปัญหาได้ โดยขั้นนี้ คือการวิเคราะห์รูปแบบ/เทคนิค/กระบวนการ การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะกับผู้เรียน เพื่อนำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมครั้ง ต่อไป
17. นักเรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรม สอบถามและสัมภาษณ์ความรู้สึกของนักเรียน ความประทับใจ และปัญหาต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงในการจัดการ เรียนการสอนต่อไป
10. สื่อแหล่งการเรียนรู้
1. ภาพปริศนา
2. www.random.thaiware.com/
3. www.google.co.th
4. รหัสลำลอง
5. ผังงาน
6. ใบงาน
7. ร้านค้าสินค้าพื้นบ้านในชุมชนหนองหมาใน (ขายผลิตภัณฑ์จากปลาและสัตว์น้ำในเขื่อนลำปาว)
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments