การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านดอนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
โดย:
นางสาวนุชจรินทร์ ทับทิม
[IP: 58.10.66.xxx]
เมื่อ: 2024-03-12 00:06:17
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านดอนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม ซึ่งมีประเด็นการประเมิน 4 ด้าน ประกอบด้วย (1) เพื่อประเมินบริบทความต้องการจำเป็นและความสอดคล้องเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ (2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการ (3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินโครงการ (4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ ในด้านต่อไปนี้ (4.1) ความ พึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ (4.2) ความรู้ในการจัดการขยะของ ครู บุคลากร และนักเรียน(4.3) การนำความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะไปปฏิบัติ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา รวมทั้งสิ้น 343 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 25 คน บุคลากรสนับสนุนการศึกษา จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 150 คน และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 4 ชุด แบบทดสอบความรู้จำนวน 1 ชุด และแบบประเมินการปฏิบัติ จำนวน 1 ชุด โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า (1) บริบทความต้องการจำเป็นและความสอดคล้องเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนโยบายของโรงเรียนสอดคล้องกับนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ แผนพัฒนาการศึกษาของชาติ ในการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนใส่ใจสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (2) ความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการ มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดย ผู้บริหาร ครู และ บุคลากรในโรงเรียน เห็นความสำคัญ และมีความพร้อมในการดำเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหาด้านการจัดการขยะในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (3) ความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินโครงการ มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยกิจกรรมของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) มีความเหมาะสม สอดคล้องตามแนวคิดปลอดขยะ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (4) ผลผลิตของโครงการ ในด้านต่อไปนี้ (4.1) ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยผู้ปกครอง ชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา ได้รับประโยชน์จากโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) อย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (4.2) ความรู้ในการจัดการขยะของ ครู บุคลากร และนักเรียน มีผลการประเมินโดยคะแนนจากแบบทดสอบความรู้เฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม (4.3) การนำความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะไปปฏิบัติ มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยฉันตักอาหารแค่พออิ่ม และจะรับประทานให้หมด เป็นข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนบ้านดอนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม ซึ่งมีประเด็นการประเมิน 4 ด้าน ประกอบด้วย (1) เพื่อประเมินบริบทความต้องการจำเป็นและความสอดคล้องเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ (2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการ (3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินโครงการ (4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ ในด้านต่อไปนี้ (4.1) ความ พึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ (4.2) ความรู้ในการจัดการขยะของ ครู บุคลากร และนักเรียน(4.3) การนำความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะไปปฏิบัติ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา รวมทั้งสิ้น 343 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 25 คน บุคลากรสนับสนุนการศึกษา จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 150 คน และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 4 ชุด แบบทดสอบความรู้จำนวน 1 ชุด และแบบประเมินการปฏิบัติ จำนวน 1 ชุด โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า (1) บริบทความต้องการจำเป็นและความสอดคล้องเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนโยบายของโรงเรียนสอดคล้องกับนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ แผนพัฒนาการศึกษาของชาติ ในการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนใส่ใจสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (2) ความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการ มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดย ผู้บริหาร ครู และ บุคลากรในโรงเรียน เห็นความสำคัญ และมีความพร้อมในการดำเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหาด้านการจัดการขยะในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (3) ความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินโครงการ มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยกิจกรรมของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) มีความเหมาะสม สอดคล้องตามแนวคิดปลอดขยะ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (4) ผลผลิตของโครงการ ในด้านต่อไปนี้ (4.1) ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยผู้ปกครอง ชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา ได้รับประโยชน์จากโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) อย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (4.2) ความรู้ในการจัดการขยะของ ครู บุคลากร และนักเรียน มีผลการประเมินโดยคะแนนจากแบบทดสอบความรู้เฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม (4.3) การนำความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะไปปฏิบัติ มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยฉันตักอาหารแค่พออิ่ม และจะรับประทานให้หมด เป็นข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments