การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง
โดย:
ฉวีวรรณ หนูเมือง
[IP: 124.122.41.xxx]
เมื่อ: 2023-09-14 20:14:03
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และเทศบาลที่สังกัด 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล ในจังหวัดตรัง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเทียบตารางสัดส่วนของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น ( ) 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ ส่วนข้อเสนอแนะใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรังโดยรวม มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศต่างกันมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุต่างกันมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการโดยรวมไม่แตกต่างกันทางสถิติ ยกเว้นด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และเทศบาลที่สังกัดต่างกันมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันทางสถิติ
ข้อเสนอแนะในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง
มีประเด็นที่สำคัญ คือ ควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในงานวิชาการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ให้ครูได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการตามความสามารถของบุคลากรเพื่อปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับ
มอบหมายอย่างเต็มที่ ควรได้รับผลประโยชน์อย่างเหมาะสมยุติธรรมกับภาระงานที่ได้รับมอบหมาย
และเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนได้รับทราบผลในการประเมินผลทุกด้านที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และเทศบาลที่สังกัด 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล ในจังหวัดตรัง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเทียบตารางสัดส่วนของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น ( ) 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ ส่วนข้อเสนอแนะใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรังโดยรวม มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศต่างกันมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุต่างกันมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการโดยรวมไม่แตกต่างกันทางสถิติ ยกเว้นด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และเทศบาลที่สังกัดต่างกันมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันทางสถิติ
ข้อเสนอแนะในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง
มีประเด็นที่สำคัญ คือ ควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในงานวิชาการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ให้ครูได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการตามความสามารถของบุคลากรเพื่อปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับ
มอบหมายอย่างเต็มที่ ควรได้รับผลประโยชน์อย่างเหมาะสมยุติธรรมกับภาระงานที่ได้รับมอบหมาย
และเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนได้รับทราบผลในการประเมินผลทุกด้านที่เกี่ยวข้อง
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments