การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน โรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร

โดย: นายศักดิ์ณรงค์ บุญเรือง ผู้อำนวยการสถานศึกษา [IP: 118.174.83.xxx]
เมื่อ: 2023-05-08 21:38:06
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน

โรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร

ผู้วิจัย นายศักดิ์ณรงค์ บุญเรือง ผู้อำนวยการสถานศึกษา

สถานศึกษา โรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร สังกัดกองการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

ปีที่วิจัย 2564



บทคัดย่อ



การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C ) ของโรงเรียนโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I ) โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P ) โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร และ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P ) โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่ให้ข้อมูลตามแบบ สัมภาษณ์ได้แก่ผู้บริหารโรงเรียน จํานวน 5 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จํานวน 15 คน 2) กลุ่มที่ให้ข้อมูลตามแบบสอบถาม ได้แก่ครูจํานวน 39 คน นักเรียน จํานวน 602 คน และ ผู้ปกครอง จํานวน 602 คน 3) กลุ่มที่ให้ข้อมูลตามแบบสนทนากลุ่ม ได้แก่นักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1– 6 จํานวน 6 ระดับชั้น ๆ ละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบ สัมภาษณ์แบบสอบถาม และแบบสนทนากลุ่ม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ผ่านการตรวจสอบคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาสรุปข้อความคิด

สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C ) ของโรงเรียนโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร สถานภาพทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 36-54 ปี ขึ้นไป ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ประสบการณ์ในการบริหาร 1 – 5 ปีและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 54 ปีขึ้นไป ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น ประสบการณ์ ในการบริหาร 6 -10 ปี ส่วนสถานภาพทั่วไปของครู ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 36-53 ปี ระดับการศึกษา ปริญญาตรี นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 18 ปีระดับ การศึกษา ประถมศึกษา ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 36 – 53 ปีระดับการศึกษาส่วนใหญ่ประถมศึกษา สถานภาพทั่วไปของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1 - 6 ที่สนทนากลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง การร่วมกิจกรรมทางสุขภาพ ส่วนใหญ่ร่วมเป็นประจำ

ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นด้านบริบทว่าวัตถุประสงค์ เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ มีการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพของนักเรียน และบุคลากรมีความต้องการให้ดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อแยกพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน ทุกกลุ่มมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I ) โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ผลการวิเคราะห์ด้านปัจจัยนำเข้า คณะกรรม การสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู มีความเห็นว่า ปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานโรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณาตาม กลุ่มผู้ประเมิน ทุกกลุ่มมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P ) โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ผลการวิเคราะห์ด้านกระบวนการ คณะกรรม การสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู มีความเห็นว่ากระบวนการในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยก พิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน ทุกกลุ่มมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด

4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P ) โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร

4.1 ผลผลิตก่อนการดำเนินงานตามโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียนและผู้ปกครอง นักเรียน มีความเห็นว่า ผลผลิตก่อนการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร โดยรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน ผู้ปกครองนักเรียนมีความเห็นอยู่ในระดับมาก นอกนั้น อยู่ในระดับปานกลาง

4.2 ผลผลิตหลังการดำเนินตามโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน มีความเห็นว่าผลผลิตหลังการดำเนิน โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อ พิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน ทุกกลุ่มมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คณะคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด

4.3 เปรียบเทียบผลผลิตก่อนดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง นักเรียน ที่มีต่อผลผลิตของโรงเรียน ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพก่อนดำเนินโครงการและหลัง ดำเนินโครงการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยหลังดำเนินโครงการมากกว่า ค่าเฉลี่ยก่อนดำเนินโครงการ แสดงว่า ผลผลิตตามโครงการมีความก้าวหน้าขึ้นไปเป็นลำดับ ส่งผลให้การ ดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการทุกประการ

4.4 ความพึงพอใจในการดำเนินงานตามโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อ โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินทุกกลุ่ม มีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด

4.5 ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานตามโครงการ จากการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ปรากฏผลที่ได้รับตามมาอย่างน่าภาคภูมิใจหลายประการ เช่นโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้าน การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัย ได้เป็นตัวแทนนำเสนอ “ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงาน สนับสนุนของเด็กไทยทำได้ในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ” ได้รับเชิญให้เสนอผลงาน “การดำเนินงาน และ ผลงานของแกนนำ เด็กไทยในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ” ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริม สุขภาพ ของศูนย์อนามัยที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้รับเชิญให้ไปจัดนิทรรศการผลการดำ เนินงาน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ให้คณะผู้บริหาร และครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน ตลอดจนหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

4.6 การศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ได้เสนอปัญหา อุปสรรค และ ข้อเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้

4.6.1 ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงาน ในการดำเนินงานพบปัญหาการประสานของ บุคลากรและหน่วยงานในโรงเรียน การกำหนดผู้รับผิดชอบ และปฏิทินปฏิบัติงานตามกิจกรรมขาดความ ชัดเจน ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น

4.6.2 ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงาน โรงเรียนควรมอบหมายให้บุคลากรที่ มีศักยภาพเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ควรประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรเอกชนและ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนทั้งด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ

4.6.3 ความพึงพอใจในการดำเนินงานตามโครงการ ต้องการให้โรงเรียนจัดทำโครงการ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพต่อไป และอยากให้นักเรียนนำแบบอย่างการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีของโรงเรียนไปปรับปรุงที่บ้านและชุมชนของตนเอง


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,149,454