รายงานผลการใช้ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาครูให้เป็นผู้มองเห็นสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียน (Visible Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนดงรักวิทยา

โดย: นางรุจนี พันธ์ศิริ [IP: 183.89.86.xxx]
เมื่อ: 2023-02-24 16:49:26
บทคัดย่อ



ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาครูให้เป็นผู้มองเห็นสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียน (Visible Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนดงรักวิทยา

ผู้วิจัย นางรุจนี พันธ์ศิริ

ปีที่ทำวิจัย 2563 - 2564





การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาครูให้เป็นผู้มองเห็นสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียน (Visible Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนดงรักวิทยา 2) เพื่อสร้างยุทธศาสตร์ในการพัฒนาครู ให้เป็นผู้มองเห็นสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียน (Visible Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนดงรักวิทยา และ 3) เพื่อประเมินผลการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาครู ให้เป็นผู้มองเห็นสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียน (Visible Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนดงรักวิทยา ซึ่งแบ่งการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา สภาพปัจจุบัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาครูให้เป็นผู้มองเห็นสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียน (Visible Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียน ดงรักวิทยา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในขั้นตอนนี้ ได้แก่ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียน ดงรักวิทยา จำนวน 20 คน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้น 22 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างยุทธศาสตร์ในการพัฒนาครูให้เป็นผู้มองเห็นสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียน (Visible Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนดงรักวิทยา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในขั้นตอนนี้ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนดงรักวิทยา จำนวน 20 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนดงรักวิทยา จำนวน 9 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 ท่าน และขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาครูให้เป็นผู้มองเห็นสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียน (Visible Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนดงรักวิทยา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในขั้นตอนนี้ ประกอบด้วย คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาปีการศึกษา 2564 จำนวน 5 คน ครูโรงเรียนดงรักวิทยา 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนดงรักวิทยา จำนวน 9 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่เข้าร่วมประชุมผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 238 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย และมีความยินดี เต็มใจในการให้ข้อมูลในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบบันทึกการจัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ในการพัฒนาครูให้เป็นผู้มองเห็นสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียน (Visible Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพ การจัดการศึกษามีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1– 6 แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัจจุบัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในโรงเรียนดงรักวิทยา พบว่า ในปีการศึกษา 2564 มีจำนวนนักเรียน จำนวน 238 คน ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) อยู่ในระดับต่ำกว่าดีมาก จุดแข็ง/โอกาสที่ทำให้มีคุณภาพ โรงเรียนมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างหลากหลาย ผู้เรียนมีความสามารถด้านดนตรี และกีฬา สามารถใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารมีทักษะในการทำงานร่วมกัน มีความรับผิดชอบเสียสละ รู้จักบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม ผู้เรียนมีความรักต่อโรงเรียนและครู จุดอ่อนที่ควรพัฒนา/อุปสรรค ที่ทำให้ไม่มีคุณภาพควรกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา และระดับชาติให้ชัดเจน ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผลการสอบตามตัวชี้วัด ตลอดจนการนำผลการวิเคราะห์มาใช้ในการกำหนดเป้าหมายการพัฒนา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชาให้สูงขึ้น และควรจัดทำสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน ของผู้เรียนให้มีข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาปีต่อไป

2. ผลการสร้างยุทธศาสตร์ในการพัฒนาครูให้เป็นผู้มองเห็นสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียน (Visible Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนดงรักวิทยา ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษา หลักสูตรฐานสมรรถนะและกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ (Learning Space) และวิจัยนวัตกรรมที่เอื้อต่อการจัดเรียนรู้ ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการเรียนแบบใฝ่รู้ตลอดชีวิต ยุทธศาสตร์ที่ 5 น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจากการประเมินยุทธศาสตร์และกลยุทธ์พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ผลการประเมินผลการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาครูให้เป็นผู้มองเห็นสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียน (Visible Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา พบว่า ผลการวิเคราะห์การประเมินคุณภาพการศึกษาโรงเรียนดงรักวิทยา ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ย 74.35 อยู่ในระดับ ดีเลิศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โดยรวมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 69.37 ซึ่งมีพัฒนาการสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 3.19 และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่มีต่อยุทธศาสตร์ที่สร้างขึ้น พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,141,502