การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษาประกอบ กลุ่มร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 เรื่อง จำนวนนับไม่เกินห้

โดย: ยุพาวดี สรศิลป์ [IP: 171.101.103.xxx]
เมื่อ: 2023-02-08 09:24:14
บทคัดย่อ



การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 2) สร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 4) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 8 คน ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กับกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลอำนาจ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 21 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pre-test Post-test Design ระยะที่ 4 การประเมินผลรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยการประเมินความพึงพอใจของเด็กกลุ่มตัวอย่างเดียวกับระยะที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test (Dependent)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัจจุบันเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ยังมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาที่ล่าช้าและขาดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่จะเชื่อมต่อไปในระดับประถมศึกษา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจึงต้องการให้ครูผู้สอนพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งครูมีความพร้อมที่จะพัฒนา และมีความรู้เท่าทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป มุ่งเน้นการมีส่วนร่วม ควรนำแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษาประกอบกลุ่มร่วมมือสู่การปฏิบัติจริงในห้องเรียนให้เป็นระบบและต่อเนื่อง โดยเน้นไปที่การเรียนรู้จากประสบการณ์จริงและการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

2. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษาประกอบกลุ่มร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 เรื่อง จำนวนนับไม่เกินห้าสิบ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลอำนาจ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) จุดประสงค์ 3) สาระการเรียนรู้ 4)กิจกรรมและขั้นตอนดำเนินการ ตามรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า ไอแคร์โมเดล (ICARE Model) 5) สิ่งแวดล้อมในการจัดประสบการณ์ 6) การวัดและประเมินผล โดยรูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.33/85.48 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80

3. เด็กที่ได้รับรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษาประกอบกลุ่มร่วมมือ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. เด็กมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเกมการศึกษาประกอบกลุ่มร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 เรื่อง จำนวนนับไม่เกินห้าสิบ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลอำนาจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด






ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,391