แนวทางพัฒนาการดำเนินงานยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนกระสังพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์

โดย: พงษ์สุวรรณ จุตโต [IP: 223.205.232.xxx]
เมื่อ: 2022-11-02 00:09:21
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการดำเนินงานยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนกระสังพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 441 คน ซึ่งได้จากการสุ่มจากประชากรแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วนและทำการสุ่มอย่างง่ายในขั้นตอนสุดท้าย และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย เชิงคุณภาพโดย ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกำหนดโควต้ากลุ่ม จำนวน 15 คน เครื่องมือในการวิจัยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเป็น .9910 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

1.ระดับการดำเนินงาน ยกระดับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน กระสังพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.05) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมภายนอกเอื้อต่อการจัดการศึกษา ( =4.26) รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ( =4.09) และด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ( = 4.08) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านการพัฒนาผู้เรียน ( = 3.97)

ส่วนผลการวิเคราะห์ระดับการดำเนินงานยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนกระสังพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ จำแนกตามตามขอบข่ายการบริหารวงจรของเดมมิ่ง (Deming Cycle) ดังนี้ 1)วางแผนการดำเนินงาน (P) โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการจัดสภาพแวดล้อมภายนอกเอื้อต่อการจัดการศึกษา รองลงมาคือด้านการพัฒนาครูบุคลากรทางการศึกษาและด้านการส่งเสริมสนับสนุนการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 2)การปฏิบัติตามแผน (D) มีการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการจัดสภาพแวดล้อมภายนอกเอื้อต่อการจัดการศึกษา รองลงมาคือด้านการพัฒนาครูบุคลากรทางการศึกษา และด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 3)การตรวจสอบประเมินผล (C) มีการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมภายนอกเอื้อต่อการจัดการศึกษา รองลงมาคือด้านการพัฒนาครูบุคลากรทางการศึกษาและด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 4)การนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน (A) มีการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้ รองลงมาคือด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาและด้านการส่งเสริมสนับสนุน การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมของโรงเรียนและชุมชน

2. ผลการศึกษาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนกระสังพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2564 สรุปความต้องการและแนวทางการพัฒนาที่ผู้ร่วมสนทนาต้องการพัฒนาเกี่ยวกับแนวทางพัฒนาการดำเนินงานยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ อยากให้โรงเรียนดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่องด้านการพัฒนาผู้เรียน โดยให้โรงเรียนดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาผู้เรียนทั้งวิชาการและคุณลักษณะที่พึงประสงค์และความมีจิตสาธารณะทั้งในและนอกโรงเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่พัฒนาความสามารถทางวิชาการคุณธรรมและจริยธรรม จัดกิจกรรมซ่อมเสริมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน จัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรมและมีการรายงานผลการดำเนินงาน ดำเนินการให้มีการรายงานผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่องรวมถึงให้โรงเรียนดำเนินการให้มีการประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเพื่อนำผลที่ได้ไปวางแผนพัฒนาผลสัมฤทิ์ทางการเรียนของนักเรียนอย่างต่อเนื่องต่อไป


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,141,747