ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาครูด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนเทศบ

โดย: วารุณี วงศ์พิมพ์พระ [IP: 182.232.6.xxx]
เมื่อ: 2022-02-27 09:48:33
ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาครูด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์)

ผู้วิจัย วารุณี วงศ์พิมพ์พระ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียนดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาครู 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครู และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์) จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และแบบบันทึกการเรียนรู้ดำเนินการทดลอง จำนวน 26 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มี 3 องค์ประกอบ คือ ความสามารถในการจัดการชั้นเรียน ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ และความสามารถในการวัดและประเมินผลผู้เรียน และแนวทางการส่งเสริมพัฒนาครูด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียน 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้น มี 6 องค์ประกอบ คือ ความเป็นมา หลักการ วัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผล และปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ โดยการจัดกิจกรรมดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้าง การยอมรับร่วมกัน ระยะที่ 2 การสร้างความรู้สู่การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน และระยะที่ 3 ปฏิบัติการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียน มี 5 ขั้นตอน คือขั้นที่ 1 การสร้างทีม ขั้นที่ 2 การกำหนดเป้าหมาย ขั้นที่ 3 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 4 การปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ และขั้นที่ 5 การสะท้อนความคิดเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ซึ่งรูปแบบมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการพัฒนาครู พบว่า ครูมีพัฒนาการความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการจัดการเรียนรู้หลังการพัฒนาสูงขึ้นจากก่อนการพัฒนา โดยรวมร้อยละ 71.58 มีทักษะการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และผลการสังเคราะห์ทักษะการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่า ครูมีทักษะการจัดการเรียนรู้ในการเสริมแรงทางบวก การสร้างปฏิสัมพันธ์ การสื่อสารกับนักเรียน การเรียนรู้แบบร่วมมือ การสืบเสาะ การสร้างความสนใจผ่านการทดลอง การใช้เกมในการเรียนรู้ การจัดกลุ่ม การใช้เทคนิค Snowball การใช้เทคนิค Brian Gym การใช้สื่อใกล้ตัว และการใช้สื่อที่ทันสมัยในการจัดการเรียนรู้ 4) ผู้เกี่ยวข้องต่อการใช้รูปแบบมีความเห็นว่ารูปแบบช่วยพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูที่สูงขึ้น ส่งผลให้นักเรียนมีคุณภาพที่ดีขึ้น และครูเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการทำงานร่วมกัน และรูปแบบมีการปรับปรุงเกี่ยวกับระยะเวลาในการพัฒนา การให้ความรู้เรื่องทักษะการจัดการเรียนรู้แก่ครูและในขั้นการออกแบบและพัฒนาบทเรียนร่วมกันมากขึ้น และปรับปรุงการจัดกลุ่ม PLC โดยการแบ่งครูตามระดับชั้นในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน เพื่อให้มีบริบทของปัญหาในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ใกล้เคียงกัน












ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,143,127