การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้

โดย: นางศุภวารี วงศ์พรหม [IP: 171.101.97.xxx]
เมื่อ: 2021-10-24 13:54:46


ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย นางศุภวารี วงศ์พรหม ตาแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชานาญการพิเศษ

โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

ปีที่วิจัย 2563

บทคัดย่อ

รายงานผลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) สร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ทดลองใช้และหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4.1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ประกอบด้วย1) กลุ่มทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรูปแบบ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3/2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จานวน 28 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมินผลการใช้รูปแบบ คือ นักเรียน



ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จานวน 30 คน ทั้งสองกลุ่มได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2. เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลและการประเมิน ได้แก่ 1. การเก็บรวบรวมข้อมูลและการประเมินความเหมาะสม ได้แก่ แบบสอบถาม แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2. การประเมินผลการใช้รูปแบบ ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา จานวน 20 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จานวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จานวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขด้านการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จานวนร้อยละ 63.33 มีผลการวัดประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหา อยู่ในระดับคะแนนต่ากว่าร้อยละ 50 ผลของการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการสอบถามและการสัมภาษณ์ครูผู้สอน การสัมภาษณ์นักเรียน การสนทนากลุ่มครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ครูผู้สอนแต่ละระดับชั้นยังประสบปัญหาอยู่ในการจัดการเรียนรู้พัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในระดับมากที่สุด ส่วนแนวทางการแก้ไขและข้อเสนอแนะของครูผู้สอน ได้แก่ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้วยรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาด้านทักษะการคิดแก้ปัญหาดังกล่าว

2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล โดยกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีขั้นตอนในการจัดกิจกรรม 7 ขั้น ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นพบสถานการณ์ปัญหา (Encountered a problem : E) ขั้นที่ 2 ขั้นทาความเข้าใจปัญหา (Understand the problem : U)

ขั้นที่ 3 ขั้นศึกษาค้นคว้า (Research : R) ขั้นที่ 4 ขั้นระดมพลังสมอง (Brainstorming : B) ขั้นที่ 5 ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ (Apply Knowledge : A) ขั้นที่ 6 ขั้นนาเสนอผลงาน (Presentation : P) ขั้นที่ 7 ขั้นประเมินผล (Evaluation : E)



3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า

3.1 ประสิทธิภาพของของรูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 84.18/82.21 สอดคล้องตามเกณฑ์ที่กาหนดไว้ 80/80 และเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

3.2 ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6560 ซึ่งแสดงว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 65.60

4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า

4.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมทุกด้านอยู่ใน ระดับมากที่สุด

คาสาคัญ : รูปแบบการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์, การใช้ปัญหาเป็นฐาน, ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,143,167