การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล

โดย: นางรุณี ห่อทอง [IP: 49.48.200.xxx]
เมื่อ: 2021-10-14 15:21:03
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล

ผู้วิจัย นางรุณี ห่อทอง

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยนกแล

ปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล ผลการวิจัยพบว่า

รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยการบริหาร ประกอบด้วย 1)คณะกรรมการบริหาร 2) คุณลักษณะผู้บริหารและครูผู้สอน องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการบริหาร ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน ขั้นตอนที่ 2 การจัดองค์กร ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 4 การกำกับติดตาม ขั้นตอนที่ 5การปรับปรุงพัฒนา และองค์ประกอบที่ 4 ผลลัพธ์ ประกอบด้วย 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 3) ความพึงพอใจของครู

ผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแล พบว่า ครูผู้สอนมีความเห็นว่าสามารถปฏิบัติตามรูปแบบได้ อยู่ในระดับมากที่สุด

ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแลพบว่า ผลการเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแล ทุกกลุ่มสาระวิชา ในปีการศึกษา 2563 สูงกว่าในปีการศึกษา 2562 และผลการเปรียบเทียบร้อยละของผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแล พบว่า ผลการเปรียบเทียบร้อยละของผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทุกข้อในปีการศึกษา 2563 สูงกว่าในปีการศึกษา 2562 ส่วนการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการนำรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยนกแลไปใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ




ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,143,164