การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซล 2016 (Microso

โดย: กนกศักดิ์ บัวทอง [IP: 110.77.182.xxx]
เมื่อ: 2021-08-31 14:34:18
เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซล 2016 (Microsoft Excel 2016) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้วิจัย กนกศักดิ์ บัวทอง

ปีการศึกษา 2562



บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซล 2016 (Microsoft Excel 2016) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซล 2016 (Microsoft Excel 2016) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซล 2016 (Microsoft Excel 2016) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซล 2016 (Microsoft Excel 2016) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดังนี้ 3.1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซล 2016 (Microsoft Excel 2016) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 ขึ้นไปและมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 3.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซล 2016 (Microsoft Excel 2016) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3.3) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซล 2016 (Microsoft Excel 2016) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3.4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซล 2016 (Microsoft Excel 2016) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4. เพื่อขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซล 2016 (Microsoft Excel 2016) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านนาตาล่วง) อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) กลุ่มทดลองเครื่องมือ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านนาตาล่วง) อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ที่เรียนใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวนนักเรียน 28 คน และกลุ่มขยายผลรูปแบบครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านนาตาล่วง) อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวนนักเรียน 23 คน

ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 - ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาเรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์ เอกเซล 2016 (Microsoft Excel 2016) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะกระบวนการแก้ปัญหา และ4) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test (Dependent Samples)



ผลการวิจัย

1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซล 2016 (Microsoft Excel 2016) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า จากรายงานผลการทดสอบระดับชาติการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 พบว่า นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยในสาระเทคโนโลยีสารสนเทศต่ำกว่าเกณฑ์ทั้งในระดับประเทศ ระดับเขต ระดับท้องถิ่น และระดับจังหวัด

2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซล 2016 (Microsoft Excel 2016) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการเรียนการสอน มีขั้นตอนดังนี้ (1) ขั้นกำหนดปัญหา (2) ขั้นทำความเข้าใจกับปัญหา (3) ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า (4) ขั้นสังเคราะห์ความรู้ (5) ขั้นสรุปและประเมินค่าของคำตอบ (6) ขั้นนำเสนอและประเมินผลงาน และ 4) การวัดและประเมินผลทักษะกระบวนการแก้ปัญหาและทักษะการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งผ่านการประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่านผลการประเมินและรับรองรูปแบบ อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (x-bar = 4.93, S.D. = 0.15) และรูปแบบมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.73/83.11

3. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซล 2016 (Microsoft Excel 2016) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 ขึ้นไปและมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด2) นักเรียนมีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับสูง 4) นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

4. ผลการขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอกเซล 2016 (Microsoft Excel 2016) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 ขึ้นไปและมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2) นักเรียนมีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับสูง 3) นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,143,158