การประเมินโครงการการบริหารจัดการการเรียนการสอนทางไกล ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ (พิบูลบำรุง) สังกัดสำนั

โดย: krugow [IP: 125.24.173.xxx]
เมื่อ: 2022-10-07 14:29:17
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการการบริหารจัดการการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ

(พิบูลบำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

โดย คมคาย น้อยสิทธิ์

ปีที่ประเมิน 2564





บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การประเมินโครงการการบริหารจัดการการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ (พิบูลบำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินบริบทของโครงการด้วยตัวชี้วัดระดับความต้องการจำเป็นและระดับความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการด้วยตัวชี้วัดระดับความเหมาะสมของบุคลากรและระดับความเหมาะสมของกิจกรรม ประเมินกระบวนการของโครงการด้วยตัวชี้วัดร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการและร้อยละของการติดตามโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการด้วยตัวชี้วัดร้อยละของนักเรียนที่เข้าเรียน ร้อยละของนักเรียนที่ส่งงาน ร้อยละของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีทักษะการผลิตสื่อเทคโนโลยี ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับความพึงพอใจของนักเรียน ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง และระดับความพึงพอใจของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 196 คน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 44 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 7 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ และ แบบบันทึกจำนวน 1 ฉบับ รวม 10 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาความสอดคล้องเครื่องมือใช้สูตร IOC และใช้แอลฟา หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม

ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่า ประเด็นการประเมินทั้ง 4 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก มีประเด็นที่ผ่านในระดับมากที่สุด จำนวน 1 ประเด็น คือ ด้านกระบวนการ และผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก จำนวน 3 ประเด็น คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านผลผลิต เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดย่อยในประเด็นการประเมินทั้ง 4 ด้าน จำนวน 17 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด ตัวชี้วัดที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 7 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่มีผลการประเมินระดับมาก จำนวน 9 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดที่มีผลการประเมินระดับปานกลาง จำนวน 1 ตัวชี้วัด มีดังนี้



1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน 2 ตัวชี้วัด ดังนี้

1.1 ระดับความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก

1.2 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับ มาก

2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน 2 ตัวชี้วัด ดังนี้

2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก

2.2 ระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก

3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน

ทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้

3.1 ร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด

3.2 ร้อยละของการติดตามโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด

4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ พบว่ามีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน

11 ตัวชี้วัด ดังนี้

4.1 ร้อยละของนักเรียนที่เข้าเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก

4.2 ร้อยละของนักเรียนที่ส่งงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก

4.3 ร้อยละของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีทักษะการผลิตสื่อเทคโนโลยี พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

4.4 ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า ผ่านเกณฑ์

การประเมินในระดับปานกลาง

4.5 ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

4.6 ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า ผ่านเกณฑ์

การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

4.7 ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

4.8 ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด

4.9 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก

4.10 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก

4.11 ความพึงพอใจของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก







ข้อเสนอแนะ

1. จากผลการประเมินพบว่า ประเด็นผลผลิตตัวชี้วัดร้อยละของนักเรียนที่เข้าเรียนนั้น ยังขาดความรับผิดชอบในการเข้าเรียน อาจเนื่องมาจากการขาดอุปกรณ์ สัญญาณอินเทอร์เน็ตหรือการขาดการติดต่อสื่อสาร หรือแรงจูงใจระหว่างครูประจำชั้น/ครูประจำวิชากับนักเรียนและผู้ปกครอง จึงควรมีการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมโดยการสร้างการมีส่วนร่วมของครูกับผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอน และสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมหน่วยงานท้องถิ่น เอกชน และชุมชนในการระดมทรัพยากรสนับสนุนอุปกรณ์สัญญาณอินเทอร์เน็ตให้กับนักเรียนที่ขาดแคลนให้มีโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยี สารสนเทศต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องในปีการศึกษา 2565

2. จากผลการประเมินพบว่า ประเด็นผลผลิตตัวชี้วัดร้อยละของนักเรียนที่ส่งงานนั้น ยังขาดความรับผิดชอบในการส่งงาน จึงควรมีกิจกรรมสร้างแรงจูงใจเพิ่มมากขึ้น และส่งเสริมกิจกรรม

ที่สามารถทำให้นักเรียนกับครูประจำชั้นและครูประจำวิชามีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกันมากขึ้น

3. จากผลการประเมินพบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผลิตสื่อและเทคโนโลยีปรากฎว่า ครูทุกคนผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ตามข้อตกลงเบื้องต้น โดยมีครู บางคนผลิตสื่อคนละ 1 ชิ้น/ภาคเรียนตามข้อตกลง ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ดังนั้นครูควรผลิตสื่อมากกว่า 1 ชิ้น/ภาคเรียน เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และควรมีการสร้างแรงจูงใจในการผลิตสื่อ นวัตกรรมการสอนและการประเมินคุณภาพสื่อเพื่อกระตุ้นการผลิตสื่อของครู

4. จากผลการประเมินพบว่า ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยนั้นผ่านเกณฑ์ในระดับปานกลาง คือ 6.46 % จึงควรดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมให้ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น โดยการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่ผ่านมา มีการวิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่ผ่านมา เกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยผลการสอบในระดับมาตรฐานและสาระการเรียนรู้ ประเมินความเพียงพอของครูผู้สอนภาษาไทยคุณภาพของสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีความสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันและสามารถแก้ปัญหา ในการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,143,173